.:หน่วยที่ 5:.


ความหมายการออกแบบการสอน
                การออกแบบการสอน  หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหลักการเรียนรู้และการสอนมาสู่การวางแผนสำหรับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียน (Smit & Ragan, 1999)

                การออกแบบการสอน  หมายถึง การนำวิธีระบบมาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียน   การสอน ซึ่งในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  ต้องพิจารณาที่ปัจจัย Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output และผลกระทบ Impact (ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน)

ความเป็นมาของการออกแบบการสอน 
              ธอร์นไดค์ ( Edward L. Thorndike,1898 )พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มทดลองกับสัตว์  “อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการสนองตอบ (Response)”
              แฟรงคลิน (Franklin Bobbilt,1920-30)พัฒนาการสอนรายบุคคลเป้าหมายของโรงเรียน   ควรมาจากพื้นฐานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น สำหรับชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
       กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่นการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และการใช้เสียงประกอบบทเรียน

บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
       การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)

    การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธีเช่น กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว เป็นต้น

นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
       การนำเสนอบทเรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกันคือ การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดิทัศน์ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด

ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
     การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึงการชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
     ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน

ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
      การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่

สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
      การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป

ประโยชน์ของการออกแบบการสอน
                1.  ชวยให้จัดทำหลักสูตรวิชาชีพทุกสาขาวิชาง่ายขึ้น
                2.  ช่วยให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
                3.  ช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจ สนุกกับเนื้อหา เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
                4.  ช่วยให้จัดทำสื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้องเหมาะสมตาม  ความต้องการของผู้เรียน และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                5.  ช่วยให้ผู้ที่สนใจเกิดแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาและออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อวิชาและผู้เรียน
อ้างอิง











ไม่มีความคิดเห็น: